วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผลิตภัณฑ์เงินฝาก

1.เงินฝากกระแสรายวัน

 
       บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เป็นบริการที่อำนวยความสะดวก ในการบริหารเงินได้อย่างคล่องตัว และปลอดภัย โดยใช้เช็คสั่งจ่ายของธนาคารแทนการใช้เงินสด ถ้าคุณมีธุรกิจการค้าหรือธุรกิจส่วนตัวที่มีการรับ-จ่ายเงินหมุนเวียนอยู่เป็นประจำ

ต้องทำอย่างไรบ้าง?
       เพียงคุณแวะมาที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาที่คุณสะดวกแล้วติดต่อขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน
ด้วยจำนวนเงินเริ่มต้นขั้นต่ำ 10,000 บาท โดยคุณสามารถใช้บัญชีกระแสรายวันพร้อมเช็ค ในการใช้จ่ายแทนเงินสดได้ทันที
และสามารถเบิกถอนเงินได้ทุกสาขา ทั่วประเทศทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ไม่เพียงเท่านั้น คุณยังสามารถขอใช้บริการ 
หักบัญชีเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ หรืออื่นๆได้ด้ว
 
 ประโยชน์
         ที่คุณจะได้รับ เมื่อคุณมีบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคาร คุณสามารถใช้บริการอื่นๆ ผ่านบัญชีนี้ได้ ด้วย เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้จ่ายยิ่งขึ้น เช่น
 
  • บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต กรุงศรีออนไลน์
  • บริการบัตรกรุงศรี เอทีเอ็ม
  • บัตรกรุงศรี วีซ่า อิเลคตรอน/บัตรกรุงศรีเดบิต ผ่านบริการกรุงศรี เอทีเอ็ม
  • บริการกรุงศรี มินิ เอทีเอ็ม
  • บริการกรุงศรีโฟน 1572

 

2.เงินฝากออมทรัพย์

 

          2.1.  ออมทรัพย์จัดให้

ครั้งแรกของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่ให้คุณได้มากกว่า ด้วยบริการบัญชีเงินฝากรูปแบบใหม่ “ออมทรัพย์จัดให้” ที่มาพร้อมบัตร
เดบิต ให้คุณไม่ต้องกังวลเรื่องค่าธรรมเนียมอีกต่อไป เพื่อให้ชีวิตคุณง่ายกว่าที่เคย
 
ออมทรัพย์จัดให้...ฟรี

รับสิทธิประโยชน์เมื่อสมัครบัตรเดบิต

ฟรี....ค่าธรรมเนียมจ่ายบิล 5 บิล/บัญชี/เดือน
ฟรี....ถอนเงินสดจากเครื่อง ATM ทุกตู้ ทุกธนาคารทั่วไทย ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
ฟรี...สอบถามยอดจากเครื่อง ATM ทุกตู้ ทุกธนาคารทั่วไทย ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
 

สะดวก เร็ว ง่าย

สะดวก ด้วยช่องทางจ่ายบิลหลายช่องทาง...ผ่าน เครื่อง ATM, กรุงศรีออนไลน์, กรุงศรีโฟน 1572 และเคาน์เตอร์สาขาของธนาคารกรุงศรี ทุกสาขา 

เร็ว ด้วยการจ่ายบิลผ่านช่องทาง ATM ของธนาคารกรุงศรี ทั่วประเทศ

ง่าย เปิดบัญชีง่ายเพียงเป็นบุคคลธรรมดา และเปิดบัญชีขั้นต่ำเพียง 500 บาท
 
 

อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตร
 
 
ข้อกำหนดและเงื่อนไข
 
1. รับสิทธิประโยชน์เมื่อเปิดบัญชี ออมทรัพย์จัดให้ พร้อมทำบัตรเดบิต
2. ฟรี ค่าธรรมเนียมชำระค่าสินค้าและบริการ 5 บิล/บัญชี/เดือน ผ่านทุกช่องทาง (ยกเว้นการเติมเงินโทรศัพท์มือถือและการชำระค่าภาษีประจำปีของกรมการขนส่ง ) ไม่สามารถสะสมเพื่อใช้เดือนถัดไป และธนาคารจะเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการชำระค่าสินค้าและบริการในส่วนที่เกินกว่าสิทธิที่ได้รับ
3. สิทธิประโยชน์จะสิ้นสุดลงเมื่อบัตรเดบิตถูกยกเลิก
4. ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการให้บริการและสิทธิประโยชน์โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่างหน้า
5. อัตราดอกเบี้ย ข้อกำหนดและเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคาร

 

         2.2. มีแต่ได้ ดอกเบี้ยสูง

โอกาสดีๆ ออมทรัพย์มีแต่ได้ ดอกเบี้ยสูง

 
   ได้ ดอกเบี้ยสูง
   ได้ ดอกเบี้ยคิดเป็นรายวัน รับเป็นรายเดือน
   ได้ ความสะดวก ถอน โอน ผ่าน สาขา, ATM, online ทุกที่ ทุกเวลา

 
คุณสมบัติลูกค้า
 
 เฉพาะบุคคลธรรมดา
- ไม่สามารถเปิดบัญชีร่วม, บัญชี “เพื่อ” และบัญชี “โดย” ได้
 
โอกาสดีๆ ออมทรัพย์มีแต่ได้ ดอกเบี้ยสูง
 
 
 
 
 

              2.3. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ

 

เลือกเปิดบัญชีออมทรัพย์พิเศษ กรุงศรี Max Savings ให้ทั้งดอกเบี้ยสูงและความคล่องตัว
 
ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์
- อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปของธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- รับดอกเบี้ยทุกเดือน
- เบิกถอน / โอนเงินได้ 2 ครั้งต่อเดือน ไม่จำกัดวงเงิน 
- สะดวก ฝาก / ถอนเงิน ได้หลายช่องทางทั้ง ATM, Online Channel และสาขาธนาคารทั่วประเทศ
- ไม่กำหนดยอดคงเหลือขั้นต่ำ
- ไม่มีค่าธรรมเนียมการปิดบัญชีก่อนกำหนด
 
คุณสมบัติของผู้เปิดบัญชี
บุคคลธรรมดา
 
การเปิดบัญชี
- จำนวนเงินฝากในการเปิดบัญชีขั้นต่ำ 30,000 บาท
- ไม่สามารถเปิดเป็นบัญชีร่วมได้
 
ค่าธรรมเนียมในการเบิกถอน
เบิกถอน / โอนเงินตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการเบิกถอน / โอนเงินครั้งละ 500 บาท
 
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะทำการประกาศ อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม 
ณ สำนักงาน / สาขาของธนาคารหรือ www.krungsri.com
ข้อกำหนด และเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคาร
 

 ออมทรัพย์พิเศษ กรุงศรี Step Savings
 
รับผลตอบแทนที่เหนือกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป ด้วยอัตราดอกเบี้ยสูง
 
ลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์
- อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปของธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- รับดอกเบี้ยทุกเดือน
- เบิกถอน / โอนเงินได้ 2 ครั้งต่อเดือน ไม่จำกัดวงเงิน 
- สะดวก ฝาก / ถอนเงินได้หลายช่องทางทั้ง ATM, Online Channel และสาขาธนาคารทั่วประเทศ
- ไม่กำหนดยอดคงเหลือขั้นต่ำ
- ไม่มีค่าธรรมเนียมการปิดบัญชีก่อนกำหนด
  
คุณสมบัติของผู้เปิดบัญชี
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล
  
การเปิดบัญชี
- จำนวนเงินฝากในการเปิดบัญชีขั้นต่ำ 30,000 บาท
- ไม่อนุญาตสำหรับการเปิดบัญชีร่วม, บัญชี “เพื่อ” และบัญชี “โดย”
 
ค่าธรรมเนียมในการเบิกถอน
เบิกถอน / โอนเงินตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป ธนาคารคิดค่าธรรมเนียมการ เบิกถอน / โอนเงินครั้งละ 500 บาท
 
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด โดยธนาคารจะทำการประกาศ อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียม 
ณ สำนักงาน / สาขาของธนาคาร หรือ www.krungsri.com
ข้อกำหนด และเงื่อนไขเป็นไปตามประกาศของธนาคาร
 

อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตร

 

             2.4. บัญชีออมทรัพย์ทั่วไป

 

เงินฝากประเภทนี้ เป็นบัญชีเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์
เหมาะสำหรับบุคคลที่มีเงินเหลือเก็บจากการใช้จ่ายในแต่ละวัน
หรือแต่ละเดือนเมื่อนำเงินมาฝากกับธนาคาร โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยให้เป็นรายวัน
ตามจำนวนเงินคงเหลือในแต่ละวันในอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารประกาศทั้งนี้เพื่อ
ให้ได้ดอกผลเพิ่มพูนขึ้นดีกว่าการเก็บไว้เฉยๆ และเมื่อใดที่มีความจำเป็นต้องนำเงินไปใช้
ก็สามารถถอนออกได้ทันที
 
ต้องทำอย่างไรบ้าง?
เพียง คุณแวะมาที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาที่คุณสะดวก แล้วติดต่อขอเปิดบัญชีออมทรัพย์ด้วย จำนวนเงินขั้นต่ำเพียง 500 บาทเท่านั้น เราจะบริการเปิดบัญชีให้คุณ พร้อมกับมอบสมุดบัญชีออมทรัพย์ให้คุณ 1 เล่ม
คุณสามารถนำสมุดเล่มนี้ไปใช้บริการฝาก-ถอนเงินของคุณได้ที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ทุกสาขาทั่วประเทศ ไม่เพียงเท่านั้น คุณยังสามารถขอใช้บริการหักบัญชีเพื่อชำระค่า
สินค้าและบริการ ค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์
หรืออื่นๆได้ด้วย โดยจะมีการหักชำระเป็นรายเดือน ตามยอดที่แต่ละ ใบเรียกเก็บเงิน
ได้แจ้งมา กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราเพื่อแจ้งความจำนง เจ้าหน้าที่ของเราพร้อมบริการท่าน
 
ประโยชน์ที่คุณจะได้รับ
ประโยชน์ อื่นๆ ที่คุณจะได้รับ เมื่อคุณมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์กับธนาคาร คุณสามารถใช้บริการอื่นๆ ผ่านบัญชีนี้ได้ด้วย 
เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการใช้จ่ายยิ่งขึ้น เช่น
• บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต กรุงศรีออนไลน์
• บริการบัตรกรุงศรี เอทีเอ็ม
• บัตรกรุงศรี วีซ่า อิเลคตรอน/บัตรกรุงศรีเดบิต ผ่านบริการกรุงศรี เอทีเอ็ม
• บริการกรุงศรีโฟน 1572

 

            2.5. บัญชีออมทรัพย์กรุงศรี ทีนพลัส

 

จุดเด่น
บัญชีออมทรัพย์สำหรับน้องๆ ที่อายุไม่เกิน 19 ปี พร้อมมอบความภูมิใจให้น้องๆถือบัตร ATM ได้เพียงน้องอายุตั้งแต่
12 ปีขึ้นไป หรือหากน้องอายุ 15 ปีขึ้นไป สามารถมีบัตร VISA Debit เป็นของตัวเองเพื่อเตรียมความพร้อมเป็นนักบริหารรุ่นเยาว์ น้องๆยังได้รับโบนัสพิเศษเพิ่มอีก 10% ของดอกเบี้ย สำหรับยอดเงินฝากเฉลี่ยในรอบ
6 เดือนตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไป

ทั้งนี้ ธนาคารจะเริ่มคำนวณและจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มให้ในรอบบัญชีถัดไปหลังจากวันที่เปิดบัญชี/วันที่เริ่มสมัครใช้บริการ
ต้องทำอย่างไรบ้าง?
เพียงน้องแวะมาที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาที่น้องสะดวก แล้วติดต่อขอเปิดบัญชีกรุงศรี ทีนพลัส
ด้วยจำนวนเงินเริ่มต้นขั้นต่ำ 500 บาท เพียงเท่านี้น้องก็จะมีบัญชีไว้ออมเป็นของตนเอง
 
ประโยชน์ที่คุณจะได้รับ
นอกเหนือจากน้องจะได้รับดอกเบี้ยพิเศษแล้ว น้องยังใช้บริการอื่นผ่านบัญชีนี้ ได้อีกด้วย เช่น
• บริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ต กรุงศรีออนไลน์
• บริการบัตรกรุงศรี เอทีเอ็ม
• บัตรกรุงศรี วีซ่า อิเลคตรอน/บัตรกรุงศรีเดบิต ผ่านบริการกรุงศรี เอทีเอ็ม
• บริการกรุงศรีโฟน 1572

 

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคาร

หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคาร

          คณะกรรมการธนาคาร ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร มีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลกิจการเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อธนาคารและผู้ถือหุ้นโดยรวม กรรมการของธนาคารทุกคนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแลธนาคาร ข้อบังคับของธนาคาร และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งมีทักษะ และความสามารถเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ต่อธนาคาร ตลอดจนมีประสบการณ์ทำงานในธุรกิจธนาคารพาณิชย์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง

การดำรงตำแหน่งของกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร

- กรรมการธนาคารสามารถดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ กรรมการที่เป็นผู้บริหาร หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในบริษัทอื่นได้อีกไม่เกิน 3 กลุ่มธุรกิจ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มธุรกิจของธนาคารสอดคล้องกับนโยบายของธนาคาร เปรียบเทียบได้กับมาตรฐานในอุตสาหกรรมเดียวกัน มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบได้ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารสามารถดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยหรือกรรมการบริษัทในกลุ่มธุรกิจได้ไม่เกิน 6 ชุด เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็นที่สมควร
การประชุมคณะกรรมการธนาคาร

-  คณะกรรมการธนาคารมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยกำหนดวันประชุมและวาระที่สำคัญในแต่ละเดือนเป็นการล่วงหน้าตลอดทั้งปี และจัดให้มีการประชุมเพิ่มเติม หากมีวาระที่จำเป็นหรือเร่งด่วน โดยเลขานุการธนาคารทำหน้าที่รวบรวมและนำเสนอวาระการประชุมต่อประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำเข้าที่ประชุม ทั้งนี้ หากกรรมการธนาคารประสงค์จะเสนอเรื่องเข้าสู่วาระการประชุม ก็สามารถทำได้ โดยแจ้งต่อประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือเลขานุการธนาคาร
- เลขานุการธนาคารมีหน้าที่นำส่งหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระการประชุมและเอกสารประกอบให้กรรมการธนาคารพิจารณาล่วงหน้า เพื่อศึกษาข้อมูลก่อนวันประชุมอย่างน้อย 7 วัน โดยจัดส่งในรูปเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และหากกรรมการธนาคารต้องการสอบถามข้อมูลหรือเอกสารเพิ่มเติม สามารถแจ้งผ่านกรรมการธนาคารที่เป็นผู้บริหาร หรือขอให้เลขานุการธนาคารเป็นผู้ดำเนินการได้
- กรรมการธนาคารทุกคนมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง ยกเว้นกรณีที่ติดภารกิจที่จำเป็นอย่างยิ่ง เช่น ไปเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานทางการ เดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศ การประชุมทุกครั้งในปี 2555 กรรมการธนาคารทุกคนได้เข้าร่วมประชุมเกินกว่าร้อยละ 75 ของการประชุมทั้งหมดที่จัดขึ้น และคณะกรรมการธนาคารได้จัดให้มีการประชุมเฉพาะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร เพื่อเปิดโอกาสให้อภิปรายปัญหาต่าง ๆ อย่างอิสระโดยปราศจากกรรมการที่เป็นผู้บริหารและฝ่ายจัดการ
- การประชุมทุกครั้งในปี 2555 มีจำนวนกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าที่ข้อบังคับของธนาคารกำหนดว่า องค์ประชุมต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดตามข้อบังคับของธนาคาร
- การประชุมแต่ละครั้งใช้เวลาเฉลี่ย 4 ชั่วโมง โดยประธานกรรมการเปิดโอกาสให้แก่กรรมการธนาคารทุกคนใช้เวลาอย่างเต็มที่และเป็นอิสระในการซักถาม ให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจนอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ ของแต่ละเรื่อง โดยมีการเชิญผู้บริหารระดับสูงและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ เข้าร่วมประชุม เพื่อตอบข้อซักถาม รับทราบข้อคิดเห็น และข้อสังเกตของคณะกรรมการธนาคารด้วย
- รายงานการประชุมมีการระบุ วัน เวลา ที่เริ่มและเลิกประชุม รายชื่อกรรมการที่เข้าและไม่ได้เข้าร่วมประชุม สรุปเนื้อหาของเรื่องที่นำเสนอ สาระสำคัญที่ได้มีการอภิปราย ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการธนาคาร รวมถึงคำชี้แจงของฝ่ายจัดการ และมติของคณะกรรมการธนาคาร อย่างละเอียดชัดเจนเพียงพอ รวมทั้งมีการลงลายมือชื่อประธานที่ประชุมและผู้จดบันทึกการประชุม นอกจากนี้ กรณีที่กรรมการธนาคารคนใดมีส่วนได้เสียกับเรื่องใด ๆ ก็จะไม่เข้าร่วมพิจารณาและงดออกเสียงลงมติในเรื่องนั้น โดยมีการจดบันทึกไว้ในรายงานการประชุมด้วย
- ภายหลังจากที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมแล้ว ฝ่ายเลขานุการธนาคารมีหน้าที่นำส่งสำเนาเอกสารให้แก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด และมีหน้าที่จัดเก็บรายงานการประชุมทั้งในรูปเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงและตรวจสอบได้ แต่ไม่สามารถแก้ไขโดยไม่ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุม

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธนาคาร

- ธนาคารได้กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการธนาคารเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และให้การทำงานของคณะกรรมการธนาคารและฝ่ายจัดการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตลอดจนให้คณะกรรมการธนาคารได้มีการพิจารณาทบทวนผลงาน ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ในระหว่างปีที่ผ่านมา เพื่อนำไปปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
-การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการธนาคารทั้งคณะ โดยเป็นความเห็นของกรรมการธนาคารแต่ละคนที่มีต่อผลการปฏิบัติงานโดยรวมของคณะกรรมการธนาคาร มิได้เป็นการประเมินผลกรรมการธนาคารรายคน สำหรับหัวข้อที่ใช้ในการประเมินจะครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ
6 ประเด็นหลัก ได้แก่
(1) โครงสร้างและคุณสมบัติของคณะกรรมการธนาคาร
(2) บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการธนาคาร
(3) การประชุมคณะกรรมการธนาคาร
(4) การทำหน้าที่ของกรรมการธนาคาร
(5) ความสัมพันธ์กับฝ่ายจัดการ
(6) การพัฒนาตนเองของกรรมการธนาคารและการพัฒนาผู้บริหาร
- สรุปผลการประเมินจะถูกนำเสนอต่อคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน และคณะกรรมการธนาคารเพื่อทราบและอภิปราย พร้อมทั้งให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะว่ามีส่วนใดที่จะปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นได้ ซึ่งฝ่ายจัดการสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำเนินงาน

ค่าตอบแทนกรรมการธนาคารและผู้บริหาร
- ธนาคารได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการธนาคารไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส เทียบเคียงได้กับบริษัทในกลุ่มธุรกิจประเภทและขนาดเดียวกันกับธนาคาร โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากกรรมการธนาคารแต่ละคน และเพียงพอที่จะจูงใจและรักษากรรมการธนาคารที่มีคุณภาพไว้ 

- นโยบายและค่าตอบแทนของกรรมการธนาคาร รวมถึงการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น โดยแยกตามประเภทของกรรมการ ได้แก่ กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร กรรมการอิสระ และกรรมการที่เป็นผู้บริหาร ซึ่งโครงสร้างค่าตอบแทนประกอบด้วยค่าตอบแทน ค่าเบี้ยประชุม และค่าบำเหน็จ รวมถึงค่าตอบแทนกรรมการธนาคารในคณะกรรมการชุดย่อย โดยแยกชัดเจนระหว่างค่าตอบแทนในฐานะกรรมการธนาคารและหน้าที่อื่น

- ค่าตอบแทนของผู้บริหารเป็นไปตามหลักการและนโยบายที่คณะกรรมการธนาคารกำหนด ซึ่งเชื่อมโยงกับผลประกอบการและเป้าหมายของธนาคาร รวมทั้งผลการดำเนินงานของผู้บริหารแต่ละคน โดยผู้บริหารที่ทำหน้าที่ในคณะกรรมการธนาคาร คณะกรรมการชุดย่อย รวมถึงกรรมการบริษัทในกลุ่มธุรกิจ จะไม่ได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติม
เลขานุการธนาคาร

- คณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งนางธิดารัตน์ เศรษฐวรวิจิตร ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายเลขานุการธนาคาร ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการธนาคาร โดยมีบทบาทและหน้าที่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และให้ทำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการธนาคารด้วย สำหรับการคัดเลือกเลขานุการธนาคารนี้ พิจารณาจากผู้ที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบโดยตรง และเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งแล้ว ธนาคารได้ส่งเสริมให้เข้ารับการอบรมเป็นระยะจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และหน่วยงานอื่นด้วย ในหลักสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อการทำหน้าที่เลขานุการธนาคาร ได้แก่ Company Secretary Program (CSP) Board Reporting Program (BRP) และ Director Certification Program (DCP)

ระบบการควบคุมและระบบการตรวจสอบภายใน 
- ธนาคารได้กำหนดให้มีระบบการควบคุมภายในที่ชัดเจนตามแนวปฏิบัติสากล Three Lines of Defense ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยงานธุรกิจ หน่วยงานกำกับดูแล และหน่วยงานตรวจสอบภายใน โดยทั้ง 3 หน่วยงานจะทำงานประสานกันผ่านกระบวนการทำงานที่กำหนดไว้ในแต่ละระดับ

- ธนาคารได้กำหนดให้มีหน่วยงานอิสระ ทำหน้าที่ในการประเมินความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายใน รวมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติตามระบบที่วางไว้ และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการธนาคารเพื่อทราบ โดยคณะกรรมการธนาคารได้แต่งตั้งนางสาวพรรณทิพาหาญนรเศรษฐ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านตรวจสอบ ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานด้านตรวจสอบ

- ธนาคารได้แสดงรายละเอียดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) หัวข้อ “การควบคุมภายใน”
การบริหารความเสี่ยง
- คณะกรรมการธนาคารได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อทำหน้าที่กำหนดขอบเขตและนโยบายการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของธนาคาร (Integrated Risk Management) และจัดตั้งกลุ่มงานบริหารความเสี่ยง เพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์ ประเมิน ติดตาม และควบคุมการบริหารความเสี่ยงการให้สินเชื่อของธนาคารให้อยู่ในขอบเขต กฎระเบียบข้อบังคับของธนาคารและทางการที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการธนาคารมีการทบทวนความเพียงพอของระบบการบริหารความเสี่ยงและประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ
- ธนาคารได้แสดงรายละเอียดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) หัวข้อ “ปัจจัยความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง”
การพัฒนากรรมการธนาคารและผู้บริหาร
- ธนาคารได้จัดให้มีการปฐมนิเทศสำหรับกรรมการเข้าใหม่ โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้บริหารระดับสูงซึ่งรับผิดชอบงานด้านหลัก ๆ ของธนาคาร อาทิ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกฎหมาย ดำเนินการบรรยายสรุปเกี่ยวกับลักษณะธุรกิจของธนาคาร งานในแต่ละด้าน กฎหมายที่กรรมการธนาคารพึงทราบ รวมทั้งข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดเตรียมคู่มือกรรมการธนาคาร ข้อมูล และเอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการธนาคารให้ด้วย
- ธนาคารได้ส่งเสริมและจัดให้กรรมการธนาคาร ผู้บริหาร ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงในระบบการกำกับดูแลกิจการของธนาคาร และเลขานุการธนาคาร เข้าร่วมสัมมนาและอบรมเป็นระยะ ๆ ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งจัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมถึงสถาบันอบรมชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังได้รวบรวมหนังสือที่เกี่ยวข้องกับบทบาท หน้าที่ และการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ เพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมอีกด้วย

- ในแต่ละไตรมาส เลขานุการธนาคารจะรวบรวมหลักสูตรที่จะมีการเปิดอบรมของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และนำส่งให้แก่กรรมการธนาคารได้พิจารณาจัดสรรเวลาล่วงหน้าในการเข้าอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างสม่ำเสมอ โดยในปีนี้กรรมการธนาคารได้เข้าอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) อาทิ Director Accreditation Program (DAP) Audit Committee Program (ACP) และ Chartered Director Class (CDC) เป็นต้น

- ธนาคารได้จัดให้มี Strategy Session เป็นการเฉพาะ เพื่อชี้แจงรายละเอียดในเรื่องที่สำคัญตามแผนกลยุทธ์ของธนาคารให้คณะกรรมการธนาคารได้รับทราบและมีเวลาเพียงพอในการซักถามทำความเข้าใจรายละเอียดต่าง ๆ

แผนการสืบทอดตำแหน่งและการพัฒนาผู้บริหาร 
- คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน (Nomination and Remuneration Committee) จะเป็นผู้จัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และพิจารณาอนุมัติแผนสืบทอดตำแหน่งประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านต่าง ๆ ด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าธนาคารมีความต่อเนื่องในการบริหารอย่างเหมาะสม

-ธนาคารได้จัดทำแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan) และแผนการพัฒนาผู้บริหารเป็นการเฉพาะเจาะจง (Specific Training & Development Plan) เป็นรายบุคคล โดยพิจารณาพนักงานบริหารและพนักงานระดับรองลงไปในธนาคารและบริษัทในเครือที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นและมีศักยภาพ (Potential) สามารถที่จะพัฒนาให้รับภาระหน้าที่สูงขึ้นได้ในแต่ละฝ่ายงาน

- แผนการสืบทอดงานตามความพร้อมของผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่งเป็น 2 ระดับ คือ 1) ผู้ที่มีความพร้อมที่จะสืบทอดตำแหน่งภายในระยะเวลา 1-2 ปี (Successor) และ 2) ผู้ที่มีความพร้อมที่จะสืบทอดตำแหน่งภายในระยะเวลา 3-5 ปี (Future Successor) รวมทั้งมีการกำหนดผู้ที่จะสามารถทดแทนงานชั่วคราว (Emergency Candidate) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารกะทันหันและรอความพร้อมของผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่งอีกด้วย

-ธนาคารได้มีการจัดทำแผนอาชีพ (Career Plan) สำหรับผู้ที่จะสืบทอดตำแหน่ง โดยวิเคราะห์ความจำเป็นพร้อมกำหนดแผนการพัฒนา เพื่อเสริมให้พนักงานได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง โดยอิงแนวคิด Competency Based Management ซึ่งในปีที่ผ่านมา ได้มุ่งเน้นการพัฒนาในด้านความสามารถในการเป็นผู้นำ ซึ่งผู้สืบทอดตำแหน่งประมาณร้อยละ 75 ได้รับการพัฒนาในด้านดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ธนาคารได้ดำเนินการพัฒนาพนักงานตามแผน และติดตามประเมินผลการพัฒนา รวมถึงการแสดงการยอมรับ (Recognition) โดยการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

หมวดที่ 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส

             ธนาคารให้ความสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับธนาคารผ่านช่องทางที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย โดยจัดให้มีข้อมูลทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งข้อมูลทางการเงินและข้อมูลอื่น ๆ ต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน และสาธารณชนทั่วไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เท่าเทียมกัน โปร่งใส รวดเร็ว ทันเวลา สอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของทางการ และมีการปรับปรุงข้อมูลสำคัญให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

ธนาคารได้นำข้อมูลต่าง ๆ ที่เปิดเผยผ่านช่องทางการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และข้อมูลที่มีการแจ้งต่อผู้ถือหุ้น ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับธนาคารที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุน มารวบรวมไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ ค้นหาได้ง่ายบนเว็บไซต์ของธนาคารอีกด้วย
ธนาคารทำการทบทวนประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการเปิดเผยข้อมูลอย่างสม่ำเสมอและในปีที่ผ่านมา ธนาคารไม่เคยถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยดำเนินการหรือกล่าวโทษธนาคาร เนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
งบการเงินประจำปีที่ธนาคารเปิดเผยเป็นงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้วว่า ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งในปีที่ผ่านมา ธนาคารจัดทำและนำส่งงบการเงินประจำปีและรายไตรมาสภายในเวลาที่กำหนด และไม่เคยถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สั่งให้แก้ไขงบการเงินแต่อย่างใด

ความสัมพันธ์กับนักลงทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ธนาคารมีหน่วยงานเฉพาะที่รับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ประสานงานการให้ข้อมูลต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธนาคารกับผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ รวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- การจัดตั้งฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ ธนาคารได้จัดตั้งฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ขึ้นตั้งแต่ปี 2545 เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบหลักในการบริหารงานและกิจกรรมทางด้านนักลงทุนสัมพันธ์ โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลการเงิน ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและนโยบายเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสดังที่กล่าวข้างต้น นอกจากการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกรุงศรีกรุ๊ปแล้ว ยังได้ครอบคลุมการเปรียบเทียบผลประกอบการและฐานะการเงิน การดำเนินงานในปัจจุบัน ความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจการเงิน แผนธุรกิจและนโยบายในด้านต่าง ๆ รวมถึงมาตรการและกฎระเบียบในภาคการเงินที่เกี่ยวข้อง
-  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การขยายขอบเขตความรับผิดชอบ โดยให้ครอบคลุมกิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก หลังจากที่ธนาคารประสบความสำเร็จในการควบรวมกิจการของบริษัทในเครือเข้ามาภายใต้ One Krungsri และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นของธนาคาร
- การมีส่วนร่วมของผู้บริหารระดับสูงในกิจกรรมด้านนักลงทุนสัมพันธ์ ซึ่งสะท้อนทั้งโครงสร้างของผู้ถือหุ้นและพลวัตรของกิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์ ดังจะเห็นได้จากจำนวนกิจกรรมที่เพิ่มขึ้น ทั้งการเดินทางไปพบนักลงทุนในต่างประเทศ การจัดประชุมกับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และนักลงทุนที่เข้ามาพบ (Company visits) การเข้าร่วมประชุมในต่างประเทศ (International Conferences ) การประชุมกับนักลงทุน/นักวิเคราะห์หลักทรัพย์แบบตัวต่อตัว ซึ่งทั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ/หรือ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน และผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ เข้าร่วมประชุมด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี 2555 ผู้บริหารธนาคารได้เดินทางไปพบนักลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ สำหรับกิจกรรมหลัก ๆ ด้านนักลงทุนสัมพันธ์ในปี 2555 สรุปได้ดังนี้





หมายเหตุ * ปี 2555 เข้าร่วมการจัดประชุมและร่วมพบนักลงทุนรวม 26 ครั้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ/หรือ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน และ/หรือ ประธานคณะเจ้าหน้าที่สายงาน เข้าร่วม 22 ครั้ง
** ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน เข้าร่วมการประชุม
*** ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ เป็นผู้ดำเนินการประชุม และมี 1 ครั้งที่ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านการเงิน เข้าร่วมการประชุม

การดำเนินกิจกรรมนักลงทุนสัมพันธ์ ผ่านการเดินทางไปพบนักลงทุนในต่างประเทศ และในประเทศ การจัดประชุมกับนักวิเคราะห์และนักลงทุนที่เข้ามาพบ (Company visits) การเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศ (Conference) การประชุมกับนักลงทุน/นักวิเคราะห์ แบบตัวต่อตัว เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2555 เพิ่มขึ้นร้อยละ 57 เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยเฉพาะการเข้าร่วมการจัดประชุมและร่วมพบนักลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 160 เมื่อเทียบกับปี 2554 ทั้งนี้ จำนวนกิจกรรมด้านนักลงทุนสัมพันธ์ที่ได้ดำเนินการในปี 2555 ก็สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจที่เพิ่มขึ้นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในทุกภูมิภาค ทั่วโลก ที่มีต่อธนาคาร
- การรายงานข้อมูลต่อคณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร นอกจากการให้บริการให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกธนาคารดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ยังได้ติดตามผลการดำเนินงานและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจธนาคาร และรายงานต่อคณะกรรมการธนาคารและผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเป็นประจำ ทั้งการนำเสนอข้อคิดเห็นและมุมมองของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ การวิเคราะห์และรายงานโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่เหมาะสม

ธนาคารได้รับรางวัลรายงานบรรษัทภิบาลดีเด่นประจำปี 2555 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นปีที่สองติดต่อกัน ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลที่มอบให้กับธนาคารจากการปฏิบัติดีเด่นในด้านรายงานบรรษัทภิบาลต่อสาธารณชนผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ รายงานประจำปี เว็บไซต์ของธนาคาร และรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ ธนาคารได้รับรางวัล "The 8th Corporate Governance Asia Annual Recognition Awards 2012" จากนิตยสาร Corporate Governance Asia ซึ่งเป็นนิตยสารชั้นนำที่ได้รับการยอมรับในเอเชีย โดยรางวัลดังกล่าวมอบให้กับธนาคารจากความยึดมั่นในการดำเนินการให้การกำกับดูแลกิจการของธนาคารเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รางวัลดังกล่าวยังตอกย้ำว่าธนาคารตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีในทุก ๆ ด้านของการดำเนินธุรกิจของธนาคาร

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย

หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
         ธนาคารให้ความสำคัญและเคารพต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเท่าเทียมกัน โดยได้กำหนดปรัชญาในการดำเนินธุรกิจของธนาคารและบทบาทของธนาคารต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ อาทิ ผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า รวมถึงบทบาทของคณะกรรมการและผู้บริหารของธนาคาร ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไว้ในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของธนาคาร ดังนี้

- ผู้ลงทุน ธนาคารให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยข้อมูลของธนาคารที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส สม่ำเสมอ และทันเวลา โดยจัดให้มีการเผยแพร่ข่าวสารผ่านช่องทางและสื่อต่าง ๆ และมีการจัดตั้งฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์เพื่อทำหน้าที่ในการติดต่อประสานงานการให้ข้อมูลธนาคาร ตอบข้อซักถาม และนำเสนอผลประกอบการที่สำคัญของธนาคาร รวมทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้เสีย
- ผู้ถือหุ้น ธนาคารให้ความสำคัญและเคารพต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเสมอภาคในการตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการดำเนินงานของธนาคาร มีการบริหารจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้กิจการของธนาคารมีความเจริญเติบโต และมีผลประกอบการที่ดี ก่อให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญให้กับผู้ถือหุ้นอย่างครบถ้วน ถูกต้องโปร่งใส และตรวจสอบได้
- คณะกรรมการธนาคาร ธนาคารเปิดโอกาสให้คณะกรรมการธนาคารทำหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มที่ มีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานให้แก่ฝ่ายจัดการ ธนาคารได้จัดทำคู่มือสำหรับกรรมการธนาคารและการเสนอหลักสูตรการอบรมที่เหมาะสมแก่กรรมการธนาคารเพื่อพิจารณาจัดสรรเวลาเข้าอบรมอย่างสม่ำเสมอ โดยมีฝ่ายเลขานุการธนาคารเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลและสนับสนุนให้การปฏิบัติหน้าที่และกิจกรรมของคณะกรรมการธนาคารเป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วนตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และตามที่กฎหมายกำหนด
- ผู้บริหาร ธนาคารเปิดโอกาสให้ผู้บริหารของธนาคารสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ โดยปราศจากการแทรกแซง ภายใต้บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย
- พนักงาน ธนาคารให้ความสำคัญกับพนักงานทุกระดับของธนาคาร โดยจัดให้มีค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความเจริญก้าวหน้า และพัฒนาความรู้ความสามารถ โดยมีการเปิดเผยรายละเอียดไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ในหัวข้อ “การพัฒนาบุคลากร”
นอกจากนี้ ธนาคารได้กำหนดหลักการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และความปลอดภัย ใน “ปรัชญาและสำนึกในการปฏิบัติงาน” และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในที่ทำงานไว้โดยเฉพาะ เพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงาน
- ลูกค้า ธนาคารดำเนินธุรกิจโดยตั้งมั่นอยู่บนความซื่อสัตย์ สุจริต และเป็นธรรม เพื่อรักษาผลประโยชน์และความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้า โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและบริการที่เป็นเลิศ สะดวก รวดเร็ว และทำให้ชีวิตง่ายขึ้น (Krungsri Simple) ให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนถูกต้อง รักษาข้อมูลของลูกค้าและไม่นำไปแสวงหาประโยชน์ ทั้งยังเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้แสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น โดยกำหนดช่องทางให้ลูกค้าสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือข้อแนะนำมายังธนาคารได้หลายช่องทาง
- คู่ค้าและเจ้าหนี้ ธนาคารปฏิบัติต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ด้วยความซื่อตรง สุจริต และเป็นธรรม เพื่อรักษาผลประโยชน์ของคู่ค้าและเจ้าหนี้ ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของคู่ค้าและเจ้าหนี้ ให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนถูกต้อง ส่งเสริมกิจกรรมที่นำมาซึ่งความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
นอกจากนี้ ธนาคารได้กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติงานในการจัดซื้อจัดจ้าง และนโยบายการให้หรือรับของขวัญและการเลี้ยงรับรองที่ชัดเจน เพื่อให้พนักงานถือปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้
- ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ธนาคารให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจโดยรวม เพื่อป้องกันผลกระทบอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบธนาคารพาณิชย์ ส่งเสริมกิจกรรมที่นำมาซึ่งความเข้าใจอันดี แข่งขันกับธนาคารพาณิชย์อื่นภายใต้กฎระเบียบและข้อบังคับที่กำหนดไว้ เช่น ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับด้วยวิธีการที่ไม่สุจริตหรือไม่เหมาะสม ไม่กล่าวหาหรือให้ร้าย นอกจากนี้ ธนาคารได้ให้ความร่วมมือในการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของระบบธนาคารพาณิชย์และระบบเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย
- ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ธนาคารตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและมีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยคณะกรรมการธนาคารได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และความปลอดภัยไว้ใน “ปรัชญาและสำนึกในการปฏิบัติงาน” และธนาคารได้กำหนดหลักสูตรการอบรมเพื่อให้พนักงานได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบ E-Learning

ธนาคารได้ดำเนินกิจกรรมด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นโครงการที่ธนาคารริเริ่มขึ้น และสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรสาธารณกุศล หน่วยงานภาครัฐและเอกชน การบริจาคเพื่อการกุศล โดยมุ่งเน้นให้มีโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการขจัดความยากจน ด้านการพัฒนาเยาวชนและการศึกษา ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข และการสร้างเสริมสุขภาพ และด้านการฟื้นฟูผู้ประสบภัยพิบัติ ซึ่งรายละเอียดได้เปิดเผยไว้ในรายงานประจำปี (แบบ 56-2) หัวข้อ “ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม”
 ธนาคารได้กำหนดแนวทางปฏิบัติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
- การไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและความเป็นส่วนตัว
ธนาคารกำหนดเป็นนโยบายเกี่ยวกับการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนและนโยบายความเป็นส่วนตัว โดยกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน มีหน้าที่เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนเรื่องต่าง ๆ อาทิ การปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนด้วยความเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรี การไม่ละเมิดหรือคุกคามทั้งทางวาจาหรือการกระทำต่อผู้อื่น การไม่ใช้แรงงานเด็ก การไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ ศาสนา การไม่เหยียดในความพิการทางร่างกายของผู้อื่น การรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน
- การไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิขสิทธิ์
ธนาคารกำหนดเป็นหลักการไว้ใน “ปรัชญาและสำนึกในการปฏิบัติงาน” โดยพนักงานมีหน้าที่ต้องปกป้องสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้า และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ในขณะเดียวกันก็ต้องเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
- การต่อต้านการทุจริตและห้ามจ่ายสินบนเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
ธนาคารกำหนดเป็นหลักการไว้ใน “ปรัชญาและสำนึกในการปฏิบัติงาน” โดยห้ามมิให้มีการจ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมในการตกลงธุรกิจใด ๆ ทั้งกับภาครัฐและเอกชน เพื่อให้ได้มาหรือเพื่อรักษาไว้ซึ่งความได้เปรียบอย่างไม่เหมาะสม ทั้งยังกำหนดเป็นนโยบายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายด้วย

ช่องทางการติดต่อกับธนาคาร คณะกรรมการธนาคารได้จัดให้มีช่องทางการติดต่อกับธนาคารเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ สามารถติดต่อสอบถาม ร้องเรียน หรือแจ้งเบาะแสต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วดังนี้

- แจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณ ความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลการเงิน ระบบการควบคุมภายใน และอื่น ๆ โดยผ่านคณะกรรมการตรวจสอบ ผ่านช่องทาง
• จดหมายไปรษณีย์ โดยจ่าหน้าซองถึง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ (นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช) หรือ กรรมการตรวจสอบ (นายวิรัช ไพรัชพิบูลย์) หรือ กรรมการตรวจสอบ (นายพงศ์อดุล กฤษณะราช) หรือ เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ (นางสาวพรรณทิพา หาญนรเศรษฐ์) และส่งมาที่
บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่
เลขที่ 1222 ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
• จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) : audit.committee@krungsri.com
• เว็บไซต์ของธนาคาร ในหมวด “เกี่ยวกับเรา” หัวข้อ “การรับเรื่องร้องเรียน”


- แจ้งเรื่องร้องเรียนหรือติดต่อสอบถามในเรื่องอื่น ๆ ผ่านช่องทาง
• Call Center หมายเลขโทรศัพท์ 1572
• จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) : irgroup@krungsri.com
• เว็บไซต์ของธนาคาร ในหมวด “นักลงทุนสัมพันธ์” หัวข้อ “ติดต่อนักลงทุนสัมพันธ์”
- สำหรับพนักงานธนาคาร นอกจากการร้องเรียนผ่านช่องทางข้างต้นแล้ว สามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดหรือการละเมิดนโยบาย ข้อบังคับ และระเบียบของธนาคาร โดยแจ้งผ่านผู้รับเรื่องร้องเรียน (Ombudspersons) ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของธนาคารที่ได้รับการยอมรับจากพนักงานและผู้บริหารในความซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรมและมีความเป็นกลาง ได้แก่ นางสาวลดาวัลย์ คงเครือพันธุ์ และนางธิดารัตน์ เศรษฐวรวิจิตร โดยผู้ร้องเรียนสามารถเลือกที่จะเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยชื่อก็ได้
- ในกรณีที่เป็นเรื่องร้องเรียน ธนาคารจะเก็บชื่อและข้อมูลของผู้ร้องเรียนไว้เป็นความลับ และจะเปิดเผยเฉพาะกรณีที่จำเป็นแก่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาเท่านั้น โดยเรื่องที่ได้รับแจ้งจะมีกระบวนการแจ้งต่อไปยังผู้บริหารในสายงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการโดยเร็ว และจะรายงานผลการดำเนินการให้กับผู้บริหารหรือคณะกรรมการธนาคารทราบแล้วแต่กรณีด้วย โดยธนาคารห้ามมิให้มีการตอบโต้ต่อผู้ร้องเรียนหรือช่วยเหลือในการจัดการปัญหาโดยเด็ดขาด การตอบโต้จะเป็นเหตุให้มีการลงโทษทางวินัยสูงสุด ซึ่งอาจรวมถึงการเลิกจ้างด้วย